วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยธาตุต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยธาตุต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์
ร่างกายของมนุษย์เรานี้ มีธาตุประชุมกันอยู่ ๔ ธาตุ คือ
๑. ธาตุปถวี (ธาตุดิน)
๒. ธาตุอาโป (ธาตุน้ำ)
๓. ธาตุวาโย (ธาตุลม)
๔. ธาตุเตโซ (ธาตุไฟ)

ธาตุปถวี (ธาตุดิน) แยกออกเป็น ๒๐ อย่าง
๑. เกศา ผม เป็นเส้นงอกขึ้นบนศีรษะ
๒. โลมา ขน เป็นเส้นงอกขึ้นทั่วร่างกาย
๓. นขา เล็บ งอกขึ้นที่ปลายนิ้วมือปลายนิ้วเท้า
๔. ทันตา ฟัน กระดูกงอกขึ้นที่เหงือกในปาก
๕. ตโจ หนัง ๆ ที่หุ้มอยู่ทั่วร่างกาย
๖. มังสัง เนื้อ มีอยู่ใต้หนังทั่วร่างกาย
๗. นหารู เส้นเอ็น มีทั่วไปในร่างกาย
๘. อัฐิ กระดูก เป็นแท่งอยู่ในร่างกาย
๙. อัฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก
๑๐. วักกัง ม้าน มีอยู่ในทรวงอก
๑๑. หทยัง หัวใจ เป็นก้อนเนื้ออยู่ภายในทรวงอก
๑๒.ยกนัง ตับ เป็นชิ้นเนื้อละเอียดอยู่ภายในทรวงอก
๑๓. กิโลมกัง พังผืด เป็นเยื่อเหนียวมีอยู่ภายในของร่างกาย
๑๔. ปิหะกัง ไต เป็นชิ้นเนื้อมีอยู่ภายในช่องท้อง
๑๕. ปับผาสัง ปอด เป็นเนื้อชิ้นอ่อนยุ่น มีอยู่ภายในทรวงอก (เป็นถุงสำหรับเก็บลมหายใจ)
๑๖. อันตัง ไส้ใหญ่ มีอยู่ภายในท้อง
๑๗. อันตคุณัง ไส้น้อย หรือสายรัดไส้
๑๘. อุทริยัง อาหารที่กินเข้าไปใหม่
๑๙. กรีสัง อาหารเก่าที่เป็นคูธ
๒๐. มัตถเก มัตถลุงคัง เยื่อในสมองศีรษะ

ธาตุอาโป (ธาตุน้ำ) แยกออกเป็น ๑๒ อย่าง
๑. ปิตตัง น้ำดี น้ำดีมี ๒ อย่าง คือ พัทธปิตตะ น้ำดีในฝัก อพัทธปิตตะ น้ำดีนอกฝัก
๒. เสมหัง เสลด มี ๓ อย่างคือ ศอเสมหะ มีอยู่ที่หลอดคอ อุระเสมหะ มีอยู่ในทรวงอก คูธเสมหะ มีอยู่ที่ช่วงทวารหนัก
๓. บุพโพ น้ำหนอง มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย
๔. โลหิตัง น้ำเลือด มีอยู่ทั่วร่างกาย
๕. เสโท น้ำเหงื่อ
๖. เมโท น้ำมันข้น มีอยู่ในร่างกาย
๗. อัสสุ น้ำตา
๘. วสา น้ำมันเหลว มีอยู่ในร่างกาย
๙. เขโฬ น้ำลาย เป็นน้ำออกมาทางใต้ลิ้น
๑๐. สิงฆานิกา น้ำมูก เป็นน้ำข้น ๆ ออกทางจมูก
๑๑. ลสิการ( ลสิกา ) น้ำมันไขข้อ
๑๒. มุตตัง น้ำมูตร (น้ำปัสสาวะ)

ธาตุวาโย (ธาตุลม) แยกออกเป็น ๖ อย่าง
๑. อุทธังคมาวาตา ลมพันขึ้นเบื้องบน (ทำให้ผายลมได้)
๒. อัทโธคมาวาตา ลมพักลงบื้องต่ำ (ทำให้เรอได้)
๓. กุจฉิสยาวาตา ลมพัดอยู่ในท้องนอกลำไส้
๔. โกฎฐาสยาวาตา ลมพัดในลำไส้แลในกระเพาะ
๕. อังคมังคานุสารีวาตา ลมพัดไปทั่วร่างกาย
๖. อัสสาสะปัสสาสะวาตา ลมหายใจเข้าออก

เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) แยกออกเป็น ๔ อย่าง
๑. สันตัปปัคคี ไฟทำให้ร่างกายอบอุ่น
๒. ปริทัยหัคคี ไฟทำให้ร้อนระส่ำระสาย ซึ่งต้ออาบน้ำแลพัดวี
๓. ชีรณัคคี ไฟเผาให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรมแก่คร่ำคร่า
๔. ปรินามัคคี ๆ ย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไปให้แหลก

ธาตุทั้ง ๔๒ ประการนี้ ที่มีวิการบ่อย ๆ นั้นมี ๓ กอง คือ
ปิตตะสมุฏฐาน ๆ อาพาธด้วยดี เสมหะสมุฏฐานๆ อาพาธม้วยเสลด วาตะสมุฏฐานๆ อาพาธด้วยลม สันนิปาติกา อาพาธด้วยโทษประชุมกันทั้ง ๓ ประการ ชื่อว่าสันนิบาต
ธาตุทั้ง ๓ กองนี้ มักจะวิการเสมอ ถ้าฤดูวิปริตไปเมื่อใด ธาตุ ๓ กองนี้ก็วิการไปเมื่อนั้น
ปิตตะสมุฏฐานนั้น จัดไว้เป็น ๒ คือ พัทธปิตตะ และอพัทธปิตตะ พัทธปิตตะน้ำดีที่อยู่ในฝัก ถ้าวิการเมื่อใดย่อมทำให้ใจขุ่นมัว คลั่งเพ้อวิกลจริตไป อพัทธปิตตะ น้ำดีที่ซาบซ่านอยู่ทั่วร่างกายนั้น ถ้าวิการขึ้นเมื่อใดย่อมทำให้ปวดศีรษะแลตัวร้อน สะท้านร้อนสะท้านหนาว จับไข้ ดังนี้เป็นต้น
เสมหะสมุฏฐาน ท่านจัดไว้เป็น ๓ คือ สอเสมหะ อุระเสมหะ คูธเสมหะ
สอเสมหะ เสลดในลำคอ ถ้าวิการเมื่อใดย่อมทำให้เป็นหืดเป็นไอ เจ็บคอ ๆ แห้งเป็นต้น
อุระเสมหะ เสลดในทรวงอก ถ้าวิการเมื่อใดย่อมทำให้ผอมเหลือง เป็นดาน เป็นเถา มีการแสบในอก เป็นต้น
คูธเสมหะ เสลดในลำไส้ตอนช่วงทวารหนัก ถ้าวิการเมื่อใดย่อมทำให้ตกอุจจาระเป็นเสมหะเป็นโลหิต สามัญชนสมมุติว่าเป็นมูกเลือด เป็นบิด หรือเป็นริดสีดวง เป็นต้น
วาตะสมุฏฐาน ท่านจัดไว้เป็น ๒ คือ สุขุมวาตะ โอฬาริกะวาตะ
สุขุมวาตะ เป็นลมกองละเอียด เมื่อวิการย่อมทำให้ลมจับดวงใจ มีอาการอ่อนเพลียสวิงสวายเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นต้น
โอฬาริกะวาตะ เป็นลมกองหยาบ ถ้าวิการย่อมทำให้จุกเสียด ให้แน่นเฟ้อ ให้ปวดท้องเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอความกรุณาแสดงความคิดเห็นหรือฝากรูปภาพด้วยสำนึกความเป็นมนุษย์ที่ดี
และโปรดปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ขอบคุณมากครับ