คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ๑
๏ ข้าขอประนมหัตถ์ พระไตรรัตนนาถา ตรีโลกอมรมา อภิวาทนาการ อนึ่งข้าอัญชลีพระฤาษีผู้ทรงญาณ แปดองค์ผู้มีฌาน โดยรอบรู้ในโรคา ไหว้คุณอิศวเรศ ทั้งพรหมเมศทุกชั้นฟ้าสาปสรรค์ซึ่งหว่านยา ประทานทั่วโลกธาตรี ไหว้ครูกุมารภัจ ผู้เจนจัดในคัมภีร์ เวชศาสตร์บรรดามีให้ทานทั่วแก่นรชน ไหว้ครูผู้สั่งสอน แต่ปางก่อนเจริญผล ล่วงลุนิพพานดล สำเร็จกิจประสิทธิพรฯ
๏ จะกล่าวคัมภีร์ฉัน ทศาสตร์บรรพ์ที่ครูสอน เสมอดวงทินกร แลดวงจันทร์กระจ่างตา ส่องสัตว์ให้สว่าง กระจ่างแจ้งในมรรคา หมอนวดแลหมอยา ผู้เรียนรู้คัมภีร์ไสย เรียนรู้ให้ครบหมดจนจบบทคัมภีร์ใน ฉันทศาสตร์ท่านกล่าวไข สิบสี่ข้อคงควรจำ เป็นแพทย์นี้ยากนัก จะรู้จักซึ่งกองกรรม ตัดเสียซึ่งบาปกรรม สิบสี่ตัวจึงเที่ยงตรง เป็นแพทย์ไม่รู้ใน คัมภีร์ไสยท่านบรรจง รู้แต่ยามาอ่าองค์ รักษาไข้ไม่เข็ดขาม บางหมอก็กล่าวคำ มุสาซ้ำกระหน่ำความ ยกตนว่าตนงาม ประเสริฐยิ่งในการยา บางหมอก็เกียจกัน ที่พวกอันแพทย์รักษา บางกล่าวเป็นมารยา เขาเจ็บน้อยว่ามากครัน บางกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพรรณ์ หวังลาภจะเกิดพลัน ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา บางทีไปเยือนไข้ บ่มีใครจะเชิญหา กล่าวยกถึงคุณยา อันตนรู้ให้เชื่อฟัง บางแพทย์ก็หลงเล่ห์ด้วยกาเมเข้าปิดบัง รักษาโรคด้วยกำลัง กิเลศโลภะเจตนา บางพวกก็ถือตน ว่าใช้คนอนาถา ให้ยาจะเสียยา บ่ห่อนลาภจะพึ่งมี บางถือว่าคนเฒ่า เป็นหมอเก่าชำนาญดี รู้ยาไม่รู้ที รักษาได้ก็ชื่อบาน กายไม่แก่รู้ ประมาทผู้อุดมญาณ แม้เด็กเป็นเด็กชาญ ไม่ควรหมิ่นประมาทใจ เรียนรู้ให้เจนจัดจบจังหวัดคัมภีร์ไสย ตั้งต้นปฐมใน ฉันทศาสตร์ดังพรรณา ปฐมจินดาร์โชตรัต ครรภรักษา อไภยสันตา สิทธิสารนนทปักษี อติสารอวสาน มรณะญาณตามคัมภีร์ สรรพคุณรสอันมี ธาตุบรรจบโรคนิทาน ฤดูแลเดือนวัน ยังนอกนั้นหลายสถาน ลักษณะธาตุพิการ เกิดกำเริบแลหย่อนไป ทั้งนี้เป็นต้นแรก ยกยักแยกขยายไข กล่าวย่อแต่ชื่อไว้ ให้พึ่งเรียนตำหรับจำ ไม่รู้คัมภีร์เวช ห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำ แพทย์เอ่ยอย่างมคลำ จักขุมืดบ่เห็นหน แพทย์ใดจะหนีทุกข์ ไปสู่สุขนิพพานดล พิริยสติตน ประพฤติได้จึงเป็นการ ศีลแปดแลศีลห้า เร่งรักษาสมาทาน ทรงไว้เป็นนิจกาล ทั้งไตรรัตน์สรณา เห็นลาภอย่างโลภนัก อย่างหาญหักด้วยมารยา ใช้น้อยว่าไข้หนา อุบายกล่าวให้พึงกลัว โทโสจงอดใจ สุขุมไว้อยู่ในตัว คนไข้ยิ่งคร้ามกลัว มิควรขู่ให้อดใจ โมโหอย่าหลงเล่ห์ ด้วยกาเมมิจฉาใน พยาบาทแก่คนไข้ ทั้งผู้อื่นอันกล่าวกล วิจิกิจฉาเล่า จงถือเอาซึ่งครูตน อย่าเคลือบแคลงอาการกล เห็นแม่นแล้วเร่งวางยา อุทธัจจังอย่าอุทธัจ เห็นถนัดในโรคา ให้ตั้งตนดังพระยา ไกรสรราชเข้าราวี อนึ่งโสดอย่างซบเซา อย่าง่วงเหงานั้นมิดี เห็นโรคนั้นถอยหนี กระหน่ำยาอย่าละเมิน ทิฎฐิมาโนเล่า อย่าถือเอาซึ่งโรคเกิน รู้น้อยอย่างด่วนเดิน ทางใครอย่าครรไล อย่าถือว่าตนดี ยังจะมียิ่งขึ้นไป อย่าถือว่าตนใหญ่ กว่าเด็กน้อยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใดรู้ในทางธรรม ให้ควรยำอย่าโวหาร เรียนเอาเป็นนิจกาล เร่งนบนอบให้ชอบที ครูพักแลครูเรียน อักษรเขียนไว้ตามมี จงถือว่าครูดีเพราะได้เรียนจึงรู้มา วิตักโกนั้นบทหนึ่ง ให้ตัดซึ่งวิตักกา พยาบาทวิหิงษากาม ราคในสันดาน วิจาโรให้พินิจ จะทำผิดหรือชอบกาล ดูโรคกับยาญาณ ให้ต้องกันจะพลันหาย หิริกังละอายบาป อันยุ่งหยาบสิ่งทั้งหลาย ประหารให้เสื่อมคลาย คือตัดเสียซึ่งกองกรรม อโนตัปปังบทบังคับ บาปที่ลับอย่าพึงทำ กลัวบาปแล้วจงจำ ทั้งที่แจ้งจงเว้นวาง อย่าเกียจแก่คนไข้ คนเข็ญใจขาดในทาง ลาภผลอันเบาบาง อย่าเกียจคนพยาบาล ท่านกล่าวไว้ใน ฉันทศาสตร์เป็นประธาน กลอนกล่าวให้วิถาน ใครรู้แท้นับว่าชาย ฯ
วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอความกรุณาแสดงความคิดเห็นหรือฝากรูปภาพด้วยสำนึกความเป็นมนุษย์ที่ดี
และโปรดปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ขอบคุณมากครับ